เอกสารสำคัญเกี่ยวกับภาษีซื้อ


ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) เน้น
รายเดือนภาษี โดยสามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 - 15 ของเดือนถัดไปทุกเดือน ไม่ว่ากิจการจะมีรายรับจาก
การขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม
ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือขอคืนภาษีซื้อ ต้องเน้นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหลักฐาน
หรือเอกสารสำคัญประกอบภาษีซื้อ มีดังนี้
1.   ใบกำกับภาษี
2.    ใบเพิ่มหนี้
3.    ใบลดหนี้
4.     ใบเสร็จรับเงินที่กรมสรรพากรออกให้สำหรับการรับขำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
5.    ใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรหรือกรมสรรพสามิตออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากร
6.       ใบเสร็จรับเงินของส่วนราขการที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด
ใบกำกับภาษี
"ใบกำกับภาษี" (Tax Invoice) เน้นเอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มออกให้แก่
ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใซ้บริการเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการ และต้องส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือ
ผู้ใช้'บริการ,ทันที
ใบกำกับภาษีแบ่งออกเน้นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป มีฃ้อความตามนัยมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
และใบกำกับภาษีอย่างย่อ มีข้อความตามนัยมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ
สามารถนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขอคืนภาษีซื้อ เว้นแต่เน้น
ภาษีซื้อต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดจะไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือขอคืนภาษีซื้อได้
ลักษณะใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ต้องมีข้อความตามนัยมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
(1)      คำว่า "ใบกำกับภาษี" ที่เห็นได้เด่นซัด
(2)        ขื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออก
ใบกำกับภาษี
(3)     ขื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(4)      หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่มถ้ามี
(5)     ขื่อ ขนัด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าและบริการ
(6)      จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
(7)     วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี


(8) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด บังคับใช้กับผู้ประกอบการ ดังนี้
         ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกใบกำกับภาษีรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น และ
ใบกำกับภาษีไมใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารขุดดังกล่าว (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 39))
        ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีสถานประกอบการหลายแห่งและสถาน
ประกอบการที่ใมใช่สำนักงานใหญ่นำใบกำกับภาษีของสำนักงานใหญ่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการ
จะต้องมีช้อความว่า "สาขาที่ออกใบกำกับภาษีคือ" ไว้ในใบกำกับภาษี (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39))
       กิจการสถานบริการนํ้ามันขายนํ้ามันเชื้อเพลิงหรือสินค้า หรือให้บริการที่เกี่ยวช้องโดยตรงกับ
รถยนต์นั่งที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ให้ระบุเลขทะเบียนรถยนต์ไว้ในใบกำกับภาษี(ประกาศ
อธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39))
       ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ออกใบกำกับภาษี
เบ็เนหน่วยเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 86/4 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร ต้องระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ต่างประเทศเป็นเงินตราไทยไว้ในใบกำกับภาษีด้วย (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39))
        กิจการขายทองรูปพรรณที่ได้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากส่วนต่าง ซึ่งคำนวณจากราคาขายรวม
กำเหน็จหักด้วยราคารับซื้อคืน ใบกำกับภาษีต้องมีช้อความตามที่กำหนด (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39))
ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องมีช้อความอย่างน้อยตามข้อ (1) - (7)
ส่วนข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดให้บังคับใช้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่กล่าวมาช้างต้น ดังนั้น
หากใบกำกับภาษีมีลักษณะข้อความที่ไม่ตรงกับลักษณะของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปดังที่กล่าวมา จะไม่สามารถนำ
ภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้
หมายเหตุ ะ กฎหมายกำหนดรายการในใบกำกับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณีตามมาตรา 86/5(1)
และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแตกต่างจากใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป โดยได้กำหนดรายการในใบกำกับภาษี
จากการขายสินค้าหรือให้บริการโดยการส่งออก และการบริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานและเรือ
เดินทะเล ให้มีรายการที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนรับขนส่งได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21)