หักค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง

โดยเงินได้พึงประเมินที่จะนํามาใช้ในการคํานวณภาษี แบ่งออกเป็น8ประเภท(มาตรา (40(1)-(8) เงินได้แต่ละประเภท มีการหักค่าใช้จ่ายในอัตราที่แตกต่างกัน โดยผู้มีเงินได้สามารถ เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ 

แบบที่ 1 การหักค่าใช้จ่ายเหมา กําหนดไว้เป็นอัตราร้อยละ ตามที่กฎหมายกําหนด
แบบที่ 2 การหักค่าใช้จ่าย ตามความจําเป็นและสมควร
   
ในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายกําหนดให้เงินได้แต่ละประเภท สามารถหักค่าใช้จ่าย (ต้นทุน) ออกก่อน แล้วจึงนําเงินได้ที่หักค่าใช้จ่ายแล้วทั้งหมด ไปหักลดหย่อน เพื่อให้ได้เงินได้สุทธิ ไปคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้

         บุคคลธรรมดา เรียกว่า เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ อันเข้าลักษณะพึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ ซึ่งเกิดจากหน้าที่งานที่ทํา กิจการที่ทํา หรือเนื่องจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นใดที่คํานวณได้เป็นตัวเงิน เงินภาษีที่ผู้ว่ายออกแทน หรือเครดิตภาษี ตามที่กฎหมายกําหนด


การอุทธรณ์ภาษีอากร

การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

1.   การอุทธรณ์ภาษีอากรคืออะไร?

        การอุทธรณ์ภาษีอากร เป็นกระบวนการยุติธรรมอย่างหนึ่งที่กฎหมายประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้ถูกประเมินภาษีสามารถใช้สิทธิคัดค้านการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินที่ผู้ถูกประเมินภาษีเห็นว่าไม่ถูกต้องต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

2.   การอุทธรณ์ภาษีอากรจะต้องทำอย่างไร?

        หากต้องการคัดค้านการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้ถูกประเมินภาษีจะต้องยื่นคำอุทธรณ์เป็นหนังสือโดยใช้แบบคำอุทธรณ์ตามที่อธิบดีกำหนด ซึ่งสามารถยื่นคำอุทธรณ์เป็นรายฉบับตามหนังสือแจ้งการประเมิน หรือรวมยื่นคำอุทธรณ์ฉบับเดียวสำหรับหนังสือ     แจ้งการประเมินหลายฉบับก็ได้ โดยระบุให้ชัดแจ้งว่าอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีประเภทใด เดือน/ปี ภาษีใด ตามหนังสือแจ้งการประเมินฉบับใดและเป็นจำนวนเงินภาษีเท่าใด และสิ่งสำคัญที่ต้องระบุคือไม่เห็นด้วยกับการประเมินในประเด็นใด พร้อมทั้งให้เหตุผลทุกประเด็น และแสดงเอกสารหลักฐานประกอบเหตุผลนั้นด้วย

3.   แบบคำอุทธรณ์ที่อธิบดีกำหนด ได้แก่แบบใดบ้าง?
        - แบบคำอุทธรณ์ (ภ.ส.6) ใช้ได้กับการอุทธรณ์ทุกกรณี
        - แบบคำอุทธรณ์และคัดค้านการประเมินภาษีอากร (กศก.171) ใช้เฉพาะการอุทธรณ์เพื่อคัดค้านการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินกรมศุลกากร โดยผู้ถูกประเมินภาษี    จะยื่นคำอุทธรณ์ที่กรมสรรพากร หรือกรมศุลกากรก็ได้
          แบบคำอุทธรณ์ทั้ง 2 แบบ ผู้ถูกประเมินภาษีสามารถพิมพ์ได้จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th หรือจะขอรับได้ที่หน่วยงานสรรพากรทั่วราชอาณาจักร หรือแบบคำอุทธรณ์และคัดค้านการประเมินภาษีอากร (กศก.171) จะขอรับได้จากกรมศุลกากรทั่วราชอาณาจักรได้ด้วย

4.   ผู้ถูกประเมินภาษีจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อใคร?

        ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง 

        สำหรับในต่างจังหวัด ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน สรรพากรภาคหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน

5.   ยื่นอุทธรณ์ได้ที่ไหน?

        (1)   ในเขตกรุงเทพมหานคร

                (1.1) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1 2 3 4 5 6 7 8 และ 9 เป็นผู้ประเมินภาษี ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ๆ หรือสำนักงานสรรพากรภาค 1 

               (1.2) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 และ 21 เป็นผู้ประเมินภาษี ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ๆ หรือสำนักงานสรรพากรภาค 2 

              (1.3) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 22 23 24 25 26 27 28 29 และ 30 เป็นผู้ประเมินภาษีให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ๆ หรือสำนักงานสรรพากรภาค 3

              (1.4) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นผู้ประเมินภาษี หรือ  เจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครเป็น    ผู้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เสียภาษีอากรที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นอุทธรณ์ ณ ส่วนอุทธรณ์ภาษี สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่

              (1.5) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักตรวจสอบภาษีกลาง หรือคณะทำงานหรือหน่วยงานอื่นที่อธิบดีแต่งตั้งเป็นผู้ประเมินภาษี หรือเจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เสียภาษีอากรที่มิใช่  ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นอุทธรณ์ ดังนี้ 

                     (1.5.1) ผู้ถูกประเมินภาษีที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1 2 3 4 5 6 7 8 9 และสำนักงานสรรพากรภาค 4 5 ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาค 1

                    (1.5.2) ผู้ถูกประเมินภาษีที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 และสำนักงานสรรพากรภาค 7 8 9 10 ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาค 2

                   (1.5.3) ผู้ถูกประเมินภาษีที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 22 23 24 25 26 27 28 29 30 และสำนักงานสรรพากรภาค 6 11 12 ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาค 3

        (2) กรณีคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่อื่นๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรภาค 4 5 6 7 8 9 10 11 หรือ 12 ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ตามแผนภูมิโครงสร้างหน่วยงานกรมสรรพากร 

        (3) กรณีคัดค้านการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาคที่รับผิดชอบท้องที่นั้น

        (4) กรณีคัดค้านการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากร ผู้ถูกประเมินภาษีจะยื่นคำอุทธรณ์ ณ สถานที่ตาม (1) หรือ (3) โดยใช้แบบ ภ.ส.6 หรือแบบ กศก.171 ก็ได้ หรือจะใช้แบบ กศก.171 ยื่นได้ที่กรมศุลกากร ด่านศุลกากรหรือสำนักงานศุลกากรภาคก็ได้

6.   การยื่นอุทธรณ์มีกำหนดเวลาหรือไม่ อย่างไร?

        ผู้จะใช้สิทธิอุทธรณ์จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าพนักงานประเมิน เช่น

              -   ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินวันที่ 2 ตุลาคม 2545 จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 หรือ

              -   ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินวันที่ 4 ตุลาคม 2545 จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2545 แต่เนื่องจากวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2545 เป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จึงยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ได้ เป็นต้น
7.   หลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมกับการยื่นอุทธรณ์มีอะไรบ้าง?

        (1)   หนังสือแจ้งการประเมินหรือแบบคำสั่งให้ชำระภาษีอากรฉบับที่ต้องการคัดค้านการประเมิน โดยเป็นต้นฉบับหรือภาพถ่ายที่รับรองสำเนาถูกต้อง

        (2)   ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถูกประเมินภาษี กรณีเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการพร้อมประทับตรานิติบุคคลกำกับการลงชื่อของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล

                กรณีมิได้มายื่นอุทธรณ์ด้วยตนเอง ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจกระทำการโดยปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ถ้ากระทำการครั้งเดียว หรือถ้ากระทำการมากกว่าหนึ่งครั้งปิดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจที่ลงลายมือชื่อรับรองว่าสำเนาถูกต้อง

        (3)   ภาพถ่ายทะเบียนบ้าน

        (4)   หลักฐานอื่นๆ ที่ได้อ้างประกอบคำอุทธรณ์ เช่น ภ.พ.20 หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) รายงานภาษีซื้อ-ขาย สำหรับเดือนภาษีที่ถูกประเมิน ใบกำกับภาษี ฯลฯ
8.   เมื่อยื่นอุทธรณ์แล้วจะใช้อะไรเป็นหลักฐาน?

        หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจคำอุทธรณ์และเอกสารแล้ว จะออกใบรับคำอุทธรณ์เพื่อมอบให้ผู้ยื่นอุทธรณ์ไว้เป็นหลักฐานในการติดตามเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ต่อไป
9.   ผลการพิจารณาอุทธรณ์เป็นอย่างไร?

        คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะพิจารณาและวินิจฉัยข้อโต้แย้งตามคำอุทธรณ์เมื่อแล้วเสร็จจะส่งผลเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (ภ.ส.7) ให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ดังนี้

        1.   ให้ ปลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ในกรณีนี้ผู้อุทธรณ์ไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมิน

        2.  ให้ ลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการประเมินบางส่วนถูกต้อง และบางส่วนไม่ถูกต้อง จึงปรับปรุงจำนวนภาษีให้คงเหลือเท่าที่ผู้อุทธรณ์ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน

        3.  ให้ ยกอุทธรณ์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการประเมินถูกต้องแล้ว ซึ่งผู้อุทธรณ์ต้องเสียภาษีตามการ ประเมิน

        4.   ให้ เพิ่มภาษี เนื่องจากได้พิจารณาประเด็นการประเมินและข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณ์แล้วปรากฏว่าการประเมินถูกต้อง แต่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีคลาดเคลื่อนต่ำไป คณะกรรมการฯ อาจปรับปรุงการคำนวณภาษีและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นได้
10.   หากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ควรทำอย่างไร?

        ผู้อุทธรณ์ที่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล โดย ให้ยื่นคำฟ้องต่อศาลภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

       กรณีมูลหนี้ภาษีอากรตั้งค้างอยู่ต่างจังหวัด ให้ยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดนั้นก็ได้
11.  หากจะใช้สิทธิอุทธรณ์ ผู้ถูกประเมินภาษีมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามการประเมิน หรือไม่?

          ในระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือรอคำพิพากษาของศาล ผู้ถูกประเมินภาษีต้องชำระภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย เนื่องจากการอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ได้รับการทุเลาการเสียภาษีตามประเมินแต่อย่างใด เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร หรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายให้มีอำนาจสั่งอนุมัติให้ทุเลาการชำระภาษีไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
12.  หากจะยังไม่ชำระภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด จะต้องทำอย่างไร?

          ต้องยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยยื่นผ่านทางหน่วยงานที่มีหน้าที่รับคำอุทธรณ์ พร้อมทั้งจัดให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ดังนี้
          (1) ให้ ธนาคารค้ำประกันหนี้ภาษีอากรพร้อมทั้งเงินเพิ่มที่ต้องชำระตามกฎหมายโดยให้ธนาคารออกหนังสือสัญญาค้ำประกันตามแบบที่กรมสรรพากรกำหนด หรือ

          (2) นำ อสังหาริมทรัพย์มาค้ำประกัน โดยจดทะเบียนจำนองไว้ต่อทางราชการ และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องมีราคาตลาดหรือราคาที่ใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม(ราคาประเมินของกรมที่ดิน) ไม่น้อยกว่าค่าภาษีอากรที่ต้องชำระหรือ

          (3) นำ พันธบัตรรัฐบาลในจำนวนที่คุ้มกับหนี้ภาษีอากรค้างมาจดทะเบียนจำนำเป็นประกัน

          (4) นำสมุดเงินฝากประจำธนาคารพาณิชย์ของผู้อุทธรณ์ ซึ่งมียอดเงินฝากคุ้มกับหนี้ภาษีอากรที่ต้องชำระมาให้ยึดเป็นประกัน โดยต้องมีหนังสือยินยอมของผู้อุทธรณ์ให้ระงับการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับการจำหน่าย จ่าย โอน เงินในบัญชีเงินฝากประจำที่นำมาค้ำประกัน  และหนังสือของธนาคารรับรองยอดเงินฝากและยืนยันการปลอดภาระผูกพัน  พร้อมทั้งแจ้งผลการระงับการทำนิติกรรมเพื่อกรมสรรพากรจากธนาคารพาณิชย์

          (5) นำอสังหาริมทรัพย์หรือพันธบัตรรัฐบาลของบุคคลอื่น มาจดทะเบียนจำนองหรือจดทะเบียนจำนำเป็นประกันหนี้ภาษีอากรที่ต้องชำระบางส่วน  ในกรณีนี้เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากรบางส่วนของผู้อุทธรณ์  กรมสรรพากรมีสิทธิที่จะเร่งรัดหนี้ภาษีอากรที่ต้องชำระในส่วนที่ไม่มีหลักประกันได้ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร
13.  ถ้าผู้ถูกประเมินภาษีไม่สามารถยื่นคำอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาจะต้องดำเนินการอย่างไร?

          ให้ทำคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการยื่นคำอุทธรณ์เป็นหนังสือ โดยแสดงรายละเอียดต่างๆ ประกอบด้วย ชื่อผู้ยื่นคำร้อง ประเภทภาษีอากร ปีภาษี/เดือนภาษี/รอบระยะเวลาบัญชี เลขที่หนังสือแจ้งการประเมิน วันที่ที่ลงในหนังสือแจ้งฯ จำนวนเงินภาษี วัน เดือน ปีที่ผู้ถูกประเมินภาษีได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน วัน เดือน ปีที่ยื่นคำอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงและเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถยื่นคำอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลา พร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐาน(ถ้ามี) และคำอุทธรณ์เพื่อประกอบการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ การอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นคำอุทธรณ์เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดี

ธุรกิจ SME

เกี่ยวกับธุรกิจ SME

         เกี่ยวกับธุรกิจวิสําหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นธุรกิจที่มีจำนวนมากในประเทศไทย ผู้ประกอบการส่วนมากประกอบการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือกิจการร่วมค้า ซึ่งจะประกอบธุรกิจขายสินค้า ผลิตสินค้า หรือให้บริการ โดยหน่วยงานต่างๆ อาจกำหนดลักษณะของ SMEs แตกต่างกันออกไป

ลักษณะของ SME ที่มีการให้สิทธิประโยชน์ตามประมวลรัษฎากร
  • เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชําระแล้วในวันสุดท้าย ของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ลบ. และมีรายได้จากการขายสินค้า และให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ลบ.
  • เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวร ไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ลบ. และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
  • เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการรวมกันไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี
  • เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการรวมกันไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี


กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ในปัจจุบันนี้ กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจการที่ความการเจริญเติบโตมาก แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่มีความเข้าใจเรื่องภาษีอากร ดังนั้นกรมสรรพากรจึงสรุป "ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" และรวบรวมประเภท "ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่" ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แสดงให้ผู้ประกอบการทราบเพื่อจักได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง

1. เว็บไซต์แสดงรูป และราคาสินค้า
Catalog Website หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ประกอบการจัดทำขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นห้องแสดงสินค้า รายการราคาสินค้า ประชาสัมพันธ์รายการสินค้าโปรโมชั่น ณ ช่วงเวลานั้น ทั้งนี้อาจเน้นไปทางโฆษณาสินค้าตัวใหม่ๆ แต่ไม่ได้มีการซื้อขาย สินค้าออนไลน์แต่อย่างใด หากผู้ซื้อสินค้าสนใจจะซื้อสินค้าจะต้องโทรศัพท์เพื่อสั่งสินค้า ส่วนการชำระราคาค่าสินค้า จะเกิดขึ้นทันทีที่รับมอบสินค้าจากพนักงานส่งสินค้า ข้อสังเกต เว็บไซต์ประเภทนี้จะไม่มีระบบ ไม่มีตะกร้าในการซื้อขาย แต่จะมีเพียงรูปภาพ หรือรายการสินค้าพร้อมราคาเท่านั้น

2. เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้า
e-Shopping หมายถึง เว็บไซต์ที่ผู้ประกอบการสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกิจการ ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อกิจการเป็นชื่อเว็บไซต์โดยไม่มีคำอื่นต่อท้าย กิจการจะสร้างกิจกรรมบนเว็บไซต์แบบเต็มรูปแบบ โดยจะมีกิจกรรมต่างๆ มีการเคลื่อนไหวปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ให้ทันสมัยตลอดเวลา มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก ในส่วนของการขายสินค้า จะมีระบบการรับชำระ ค่าสินค้า มีตะกร้าให้เลือกสินค้า มีระบบการตรวจสอบการส่งของ มีระบบต่างๆ อีกมากมาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า

3. การขายสินค้าบนชุมชนเว็บบอร์ดโดยผู้ขายไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง
Community Web หมายถึง ชุมชนเว็บบอร์ดซึ่งเป็นที่รวมตัวของคนที่มีความสนใจคล้ายๆ กัน โดยทางเว็บไซต์ ได้จัดทำเว็บบอร์ดแล้วอนุญาตให้ สมาชิกนำสินค้าต่างๆมาโพสต์ขายได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันจะมีเว็บไซต์แบบนี้อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เว็บสำหรับคนชอบมือถือ กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งการทำเว็บไซต์ให้มีสินค้าตรงกับความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยให้การขายสินค้าได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น
การขายสินค้าบนเว็บบอร์ดของ Community Web เป็นการซื้อขายที่ผู้ซื้อ ส่วนใหญ่จะติดต่อกันทางโทรศัพท์หรือ e-mail ที่ให้ไว้บนเว็บบอร์ด แล้วคุยกันนอกรอบเพื่อตกลงเรื่องราคา ซึ่งมักจะใช้การชำระราคาค่าสินค้าด้วยวิธีการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร และรับสินค้าทางไปรษณีย์


4. เว็บไซต์เพื่อการประมูลขายสินค้า
e-Auction (electronic auction) หรือที่เรียกว่า online auction, e-bidding, online bidding หรือ การประมูลออนไลน์ คือการประมูลสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเห็นความเคลื่อนไหวของราคาขณะประมูลในแบบเรียลไทม์ (real time) โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลา และสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

5. เว็บไซต์ห้างสรรพสินค้าออนไลน์
e-Market Place หรือ Shopping Mall หมายถึง ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ ทำหน้าที่เหมือนห้างสรรพสินค้าปกติโดยทั่วไป คือ แบ่งเนื้อที่ในเว็บไซต์ออกเป็นขนาดเล็กๆ อาจจะจัดเป็นหมวดหมู่ โซนต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่สนใจมาเช่าหน้าร้านเพื่อประกอบธุรกิจโดย e-Market Place จะมีระบบจัดการเว็บไซต์ร้านค้าไว้บริการผู้ประกอบการ เช่น ระบบตะกร้าสั่งซื้อสินค้า ระบบรับชำระเงิน ระบบการตรวจเช็คสต็อก ระบบช่วยร้านค้าประชาสัมพันธ์สินค้า ระบบเว็บบอร์ด เป็นต้น

6. เว็บไซต์แหล่งซื้อขายภาพถ่ายดิจิตอล
Stock Photo หมายถึง ที่เก็บรวบรวมภาพถ่ายไว้ด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายภาพถ่ายนั้น การขายภาพถ่าย เป็นเพียงคุณยินยอม หรืออนุญาตให้ผู้ซื้อใช้ภาพถ่ายของคุณเท่านั้น โดยคุณไม่ได้ขายขาดสิทธิ์ในภาพถ่ายดังกล่าว ดังนั้น ภาพถ่ายยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของคุณ อยู่อย่างสมบูรณ์เช่นเดิม ซึ่งทำให้คุณสามารถ นำภาพถ่ายเดียวกันนี้ไปขายซ้ำแล้วซ้ำอีกจะกี่เว็บไซต์ก็ได้ ส่วนภาพถ่ายที่ซื้อมานั้น ผู้ซื้อสามารถ นำไปใช้ในการพิมพ์หนังสือ การพิมพ์เอกสารในโอกาสพิเศษ นิตยสาร บริษัทโฆษณา การสร้างภาพยนตร์ นักออกแบบเว็บไซต์ ศิลปินด้านภาพ บริษัทรับตกแต่งภายใน และด้านอื่นๆ ตามต้องการ ปัจจุบัน Stock Photo ไม่ได้รับเฉพาะภาพถ่ายเท่านั้น ยังรับภาพ จากนักออกแบบผู้สร้างสรรค์ภาพ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Illustrator, Photoshop อีกด้วย 

7. การรับโฆษณาจากเว็บไซต์กูเกิ้ล
Google AdSense หมายถึง โปรแกรมการโฆษณาสินค้าที่ทาง Google เปิดโอกาสให้กับ ผู้ที่มีเว็บไซต์สามารถ สร้างรายได้ด้วยการ นำโฆษณาของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ โดยรายได้ จะเกิดจากการมีผู้อื่นมาเยี่ยมชม และการคลิกโฆษณานั้น ซึ่งโฆษณาต่างๆ ของ Google จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้อง กับเนื้อหาของเว็บไซต์ กรณีที่เว็บไซต์เกี่ยวข้องกับเกมส์ โฆษณาที่ทาง Google จะส่งมาก็จะเป็นเกี่ยวกับเกมส์ เช่นกัน 

8. การทำให้ผลการค้นหาบนกูเกิ้ลติดลำดับแรกๆ
SEO หรือ Search Engine Optimization หมายถึง การทำให้ผลการค้นหาจาก Google แสดงข้อมูลเว็บไซต์ติดอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาปกติ (Natuaral Search) นักคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ด้วยการปรับเว็บไซต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้คะแนนของ Google หรือที่เรียกว่า PageRank เช่น เว็บไซต์ที่เปิดมาเป็นระยะเวลานาน ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์จำนวนมาก บทความบนเว็บไซต์มีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ไม่มีข้อความที่คัดลอกจากเว็บไซต์อื่น เป็นต้น โดยเว็บไซต์ที่มี PageRank สูงก็จะได้อยู่ในอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาปกติ ผู้ประกอบการที่ต้องการให้ผลการค้นหาของ Search engine ปรากฏบนหน้าแรกของการค้นหาซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับ Google Adwords / Google Adsense การโฆษณาแบบนี้ผู้ประกอบการต้องว่าจ้างนักคอมพิวเตอร์ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเป็นผู้ดำเนินการ

9. เว็บไซต์นายหน้าการขายสินค้าและบริการ
Affiliate Marketing หมายถึง ธุรกิจที่ใช้ระบบการขาย และชำระเงินของผู้ขาย โดยผู้ประกอบการจะชักชวนให้ซื้อสินค้าด้วยการโฆษณาข้อมูลสินค้าผ่านเว็บไซต์ของตนเองแล้วผู้ซื้อทำการคลิกผ่าน Banner หรือ Link ID เพื่อเข้าไปซื้อสินค้า/บริการ จากเว็บไซต์นั้นๆ จึงและจะได้รับผลตอบแทนค่าธรรมเนียมภายหลังการขายประสบผลสำเร็จ
             ผู้ประกอบการในการทำ Affiliate Marketing
                 1. บริษัทหรือเว็บไซต์ที่ต้องการทำการโฆษณาสินค้า/บริการของตนเอง
                 2. Affiliate Network หรือ Affiliate Program Providers หมายถึง เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของบริษัทหรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่ต้องการทำการโฆษณาสินค้า/บริการของตนบนอินเทอร์เน็ต โดยผู้เป็น Affiliate Network มีหน้าที่เก็บข้อมูลและดูแลระบบจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับตัวแทนโฆษณา
                 3. Affiliate หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนโฆษณาสินค้า/บริการให้กับเว็บไซต์ต่างๆ


10. การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์
Game Online หมายถึง การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ โดยผู้เล่นเกมออนไลน์จะต้องติดตั้งโปรแกรมClient เพื่อเชื่อมโยง กับบริษัทผู้ให้บริการเกมออนไลน์ซึ่งทำหน้าที่เป็น Server ทั้งนี้ข้อมูลต่างๆ ของผู้เล่นเกมออนไลน์จะถูกเก็บไว้ในเครื่อง Server ซึ่งทำให้ผู้เล่นเกมออนไลน์สามารถแข่งขัน และสนทนา (Chart) กับผู้เล่นรายอื่นที่อยู่ในเกมออนไลน์ได้ทันที ทั้งนี้ผู้เล่นเกมออนไลน์ จะต้องเสียค่าบริการ สำหรับการเล่นเกมออนไลน์ตามอัตราและเงื่อนไขที่บริษัทผู้ให้บริการกำหนดไว้           

ประเภทของเกมออนไลน์ มี 2 ประเภท ดังนี้

               1. Massively Multiplayer Online Role-Playing Game (MMORPG) คือ เกมออนไลน์ที่สามารถรองรับ ผู้เล่นเกมได้พร้อมกัน เป็นจำนวนมาก โดยผู้เล่นทุกคนสามารถ มีปฏิสัมพันธ์กันในโลกของเกมได้พร้อมกัน (Real Time Interaction) ซึ่งเปิดโอกาส ให้ผู้เล่นสามารถแข่งขัน หรือผูกมิตรกันได้เสมือนอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง โดยเนื้อหาของเกมส่วนใหญ่ จะเกี่ยวกับการต่อสู้ผจญภัย เพื่อป้องกันตัวหรือในภาวะสงคราม โดยมีลักษณะทั่วไปดังนี้
  • ผู้เล่นเกมจะเล่นเป็นตัวละครหนึ่งๆ หรือหลายตัวในเวลาเดียวกัน โดยใช้ระบบการควบคุมตัวละครหลายตัว (Multi Character Control System: MCC) ซึ่งแต่ละตัวจะมีบทบาทต่อเนื่อง และมีจุดเด่น / จุดด้อยที่แตกต่างกันไป
  • ผู้เล่นเกมสามารถเพิ่มประสบการณ์ (Level) และเก็บสะสมอุปกรณ์ ต่างๆ (Item) เช่นอาวุธ หรือคะแนน เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ของตัวละครทำให้มีลักษณะ ที่แตกต่างจากตัวละครตัวอื่นๆ และสามารถแลกเปลี่ยน / ซื้อ ขาย Item ในเกมได้
  • ลักษณะการดำเนินชีวิตของตัวละคร จะอ้างอิงเหตุการณ์และการใช้ชีวิตเสมือนสังคมในชีวิตจริง เช่น การแต่งงาน การรับตัวละครอื่นๆ เป็นลูกศิษย์หรืออาจารย์ การรวมกลุ่มกันเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น
  • การเล่นเกมจะไม่มีผลแพ้หรือชนะ โดยการเล่นเกมจะต่อเนื่องไปตามเนื้อเรื่องของเกมที่ไม่มีวันสิ้นสุด
  • ผู้เล่นเกมโดยส่วนใหญ่จะมีความภักดีต่อเกม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากลักษณะของเกม ที่กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้เล่น โดยจะใช้เวลาในการเล่นเกมค่อนข้างนาน เพื่อเก็บประสบการณ์ / Level ในเกม
               2. Casual Game คือ เกมออนไลน์ที่มีตัวการ์ตูนน่ารักสีสันสดใส มักเป็นเกมเล่นง่าย ที่ผู้เล่นเกมไม่ต้องใช้เวลา หรือทักษะในการเล่นมากนัก และสามารถเล่นจบในเวลาอันสั้น ซึ่งเหมาะสำหรับการเล่นเพื่อผ่อนคลาย
           

การคิดค่าบริการเกมออนไลน์

                              การคิดค่าบริการเกมออนไลน์ สำหรับเกมออนไลน์นั้นผู้เล่นจะต้องเสียค่าบริการให้กับบริษัทผู้เปิดเซิร์ฟเวอร์เกมออนไลน์ โดยรูปแบบ การเก็บค่าบริการในปัจจุบันจะมีอยู่ทั้งหมด 2 แบบคือ Air time และ Item Selling
               1. Air Time เป็นการซื้อบัตรเติมเวลาเพื่อเล่นเกมออนไลน์ เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เหมือนๆ กับบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือ โดยหากเราไม่ได้เสียค่า Air Time ก็จะ ไม่สามารถเข้าเล่นเกมออนไลน์ได้ รูปแบบของบัตรเติม Airtime ก็จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ เติมเป็นเป็นชั่วโมง และเติมเป็นวัน ส่วนใหญ่การเก็บค่าบริการแบบนี้จะเจอในเกมออนไลน์ประเภท MMORPG ตัวอย่างเช่น Ragnarok, LineageII, Mu Online เป็นต้น
               2. Item Selling การเก็บค่าบริการแบบนี้ผู้เล่นสามารถเข้าเล่นเกมได้ฟรี แต่หากต้องการซื้อ item บางอย่างมาใช้ในเกม จะต้องทำการเติมแต้มด้วยเงินจริง เพื่อนำแต้มเหล่านั้นไปใช้ซื้อ item ต่างๆ ส่วนใหญ่การเก็บค่าบริการแบบนี้จะเห็นในเกมออนไลน์ประเภท Casual Game เช่น Pangya, O2Jam, Last Chaos เป็นต้น

ประเภทของบัตรเติมเงิน
               บัตรเติมเงินมี 3 ประเภท คือ
               1. บัตรเติมเงินที่ออกโดยบริษัทผู้นำเข้า
               2. เกมออนไลน์ใช้ได้เฉพาะเกมออนไลน์ที่บริษัทผู้ออกบัตรเป็นผู้ให้บริการเท่านั้น
               3. บัตรเติมเงินทั่วไปใช้ในการซื้อสินค้า/บริการ ทางอินเทอร์เน็ตได้ทั่วไปในประเทศไทย เช่น บัตรเติมเงิน True Money, mPay เป็นต้น

Luxury Goods สำหรับนักท่องเที่ยว


         Luxury Goods คืออะไร
         Luxury Goods ตามหลักเกณฑ์การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ได้แก่ 1. อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ 2. ทองรูปพรรณ 3. นาฬิกา 4. แว่นตา และ 5. ปากกา ที่มีมูลค่าสินค้าชิ้นละตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป

         นักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้าประเภท Luxury Goods ต้องตรวจสินค้าที่สำนักงานศุลกากรและที่สำนักงานคืนภาษีฯ บริเวณด้านในหลังผ่านตม. อีกครั้ง ถึงจะสามารถขอคืนภาษีฯ ได้ ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะต้องนำสินค้าประเภท Luxury Goods ติดตัวไปขึ้นเครื่องด้วยเพื่อจะได้แสดงสินค้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจอีกครั้ง ณ สำนักงานคืนภาษีฯ

การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว

การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม






เงื่อนไขการขอคืนภาษีนักท่องเที่ยว



  • นักท่องเที่ยวต้องนำสินค้าออกนอกราชอาณาจักรไทย ภายใน 60 วัน โดยนับวันที่ซื้อสินค้าเป็นวันแรก
  • ต้องซื้อสินค้าจากร้านค้าที่แสดงป้ายสัญลักษณ์ “VAT REFUND FOR TOURISTS”
  • ต้องซื้อสินค้ามูลค่าไม่น้อยกว่า 2,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) จากสถานประกอบการแห่งเดียวกัน ในวันเดียวกัน
  • ณ วันที่ซื้อสินค้า ให้แสดงหนังสือเดินทางแก่พนักงานขายและขอแบบ ภ.พ.10 จากร้านค้าพร้อมทั้งต้นฉบับใบกำกับภาษี โดยแบบ ภ.พ.10 แต่ละฉบับต้องมีมูลค่าสินค้า 2,000 บาทขึ้นไป
  • ในวันที่เดินทางออกก่อน Check-in ให้นำสินค้าและแบบ ภพ.10 ไปแสดงให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสินค้าและประทับตรา
  • สินค้าราคาแพง ได้แก่ อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ, ทองรูปพรรณ, นาฬิกา, แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพา หรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือ (ไม่รวมถึง กระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าชิ้นละ 10,000 บาทขึ้นไป หรือสินค้าที่สามารถนำติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าการซื้อต่อชิ้นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจประทับรับรองในแบบ ภ.พ.10 อีกครั้ง ณ สำนักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ผู้โดยสารขาออก ส่วนในหลังผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง

สาเหตุที่ขอคืนภาษีฯ ไม่ได้รับอนุมัติ สำหรับนักท่องเที่ยว

Vat Refund for Tourists
สาเหตุที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้รับอนุมัติ สำหรับนักท่องเที่ยว
  •  
  • เป็นลูกเรือที่เดินทางออกนอกประเทศในระหว่างปฏิบัติหน้าที่
  • ไม่ได้นำสินค้าออกนอกประเทศไทยภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ซื้อสินค้า
  • ไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศไทยผ่านทางท่าอากาศยานนานาชาติ
  • ชื่อและหมายเลขหนังสือเดินทางในใบกำกับภาษีที่แนบมากับแบบ ภ.พ.10 ไม่ใช่ของผู้ขอคืนภาษี
  • ซื้อสินค้ามูลค่าน้อยกว่า 2,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากสถานประกอบการแห่งเดียวกัน ในวันเดียวกัน
  • ไม่ได้จัดทำแบบ ภ.พ. 10 ในวันที่ซื้อสินค้า
  • มูลค่ารวมของสินค้าที่ขอคืนน้อยกว่า 2,000 บาท
  • ไม่แนบต้นฉบับใบกำกับภาษีมาพร้อมกับแบบ ภ.พ.10
  • ไม่นำสินค้าออกนอกประเทศในวันที่เดินทางออก
  • ไม่ได้ซื้อสินค้าจากร้านค้าที่อยู่ในระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (VRT)
  • จำนวนรายการสินค้าที่แสดงในแบบ ภ.พ.10 มากกว่าจำนวนรายการที่แสดงในใบกำกับภาษี
  • ไม่ได้รับการตรวจสินค้าจากศุลกากรก่อนนำออกนอกประเทศ
  • ไม่ได้รับการตรวจสินค้าราคาแพงอีกครั้งจากเจ้าหน้าที่สรรพากร
  • ใบกำกับภาษีที่แนบมากับแบบ ภ.พ.10 ไม่ได้ออกจากร้านค้าที่ระบุไว้ในแบบ ภ.พ.10

การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว


ขั้นตอนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว

1.
ให้ศุลกากรตรวจสินค้าและประทับตราบนแบบคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10)

          นักท่องเที่ยวต้องยื่นเอกสารการขอคืนภาษี (แบบ ภ.พ.10 และต้นฉบับใบกำกับภาษี) พร้อมนำสินค้าให้เจ้าพนักงานศุลกากรตรวจสินค้า ประทับตราและลงชื่อ

วันเดือนปีกำกับไว้ในแบบ ภ.พ.10 มุมขวาล่าง ช่องสำหรับเจ้าพนักงานศุลกากร

         กรณีสินค้าที่ขอคืนเป็นสินค้าที่กรมสรรพากรกำหนด 10 ชนิด ได้แก่ อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพา หรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือ (ไม่รวมถึง กระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าการซื้อแต่ละชิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไปหรือสินค้าที่สามารถนำติดตัวไปพร้อมกับการเดินทาง ที่มีมูลค่าการซื้อต่อชิ้นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ต้องนำสินค้าไปแสดงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรเพื่อประทับรับรองในแบบ ภ.พ.10 อีกครั้ง
2.
สำรองที่นั่งและ Check-In กระเป๋าเดินทาง
3.
ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง
4.
ยื่นเอกสารการขอคืนภาษี และสินค้าที่กรมสรรพากรกำหนด 10 ชนิด ตามข้อ 1. (ถ้ามี)
ต่อเจ้าพนักงานสรรพากร เพื่อขอรับเงินภาษีคืน