ภาษีซื้อต้องห้ามกับรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล


ใบระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อต้องห้ามเป็นภาษีซื้อที่กฎหมายไม่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีหรือขอคืนภาษีซื้อ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำภาษีซื้อต้องห้าม
มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
> ภาษีซื้อต้องห้ามที่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
1.      ภาษีซื้อค่ารับรองที่มีลักษณะ ดังนี้
(1)      ค่ารับรอง หรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใดๆ และไม่ว่าจะ
อำนวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เซ่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา
และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทำนองเดียวกัน
(2)     ค่าสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซื้งไต้รับการรับรองหรือรับบริการหรือที่ให้บุคคลอื่น
2.       ภาษีซื้อต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวลับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
ภาษีซื้อต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร
สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้
(1)         ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เข่าซื้อ เข่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน
10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวช้องกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่
นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
ไมให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่า
ด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเข่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการ
รับประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ดังกล่าว
หมายเหตุ
"รถยนต์นั่ง" คือ รถเก่งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย
และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เข่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันใน
ลักษณะถาวรด้านช้าง หรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด
"รถยนต์โดยสาร" คือ รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้ขนล่งคนโดยสารจำนวนมาก
รวมทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน
(2)     ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
(3)     ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประ๓ทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4)      ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออลังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง
ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เข่าอาคารหรืออลังหาริมทรัพย์นั่น
หรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
(5)         ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับ
ภาษีไม่ได้พิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

(6)       ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีฃ้อความอื่นที่อธิบดี
กำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมลรรพากร
(7)     ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษี
เป็นสำเนา
(copy) แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และ
ใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า " เอกสารออกเป็นขุด " ปรากฏอยู่ด้วย
(8)    ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประ๓ทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(9)     ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มน่ามาใข้
หรือจะใข้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดมาหักในการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้
ของกิจการทั้งหมด
(10)      ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ซึ่งรายการได้ถูกแกไขเปลี่ยนแปลงเป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่
รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
หมายเหตุ ะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
-     การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี พร้อมกับลงลายมือขื่อผู้ออกใบกำกับภาษีกำกับการ
แก้ไข ทั้งนี้เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในข่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลง
เลขที่บ้าน ขื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอ'หรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตำบล
หรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
-          การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษีด้วยวิธีการประทับตรายางที่อยู่ที่ถูกต้องเพิ่มเติม
ทั้งนี้เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราขการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่
บ้าน ขื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้านตำบล
หรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
(11)      ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนตํโดยสารที่มีที่
นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไวในครอบครอง ได้มีการดัดแปลงรถยนต์
ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
ไมให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่า
ด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง
(12)     ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ซึ่งมีรายการ ขื่อ ที่อยู่ เลขประจำดัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา
86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้นหรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วย
ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อต้องห้าม
ไม่ให้ใช้บังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจำกัดหรือ
บริษัทมหาขนจำกัดที่ได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง ทั้งนี้เฉพาะ
ใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาซน
จำกัด

> ภาษีซื้อต้องห้ามที่ไม่ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
1.    ไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีสูญหาย หรือไม,อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ
2.     ใบกำกับภาษีมีฃ้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูร(น!นส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
3.      ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ
4.      ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้!ม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
หมายเหตุ ะ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถ
นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ
กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เว้นแต่เป็นรายจ่ายที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ
กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น